วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Advertisements
ดาวอินคา
ชื่อสามัญ: 
Sacha inchil, Sacha peanut, Inca peanut, Supua หรือ Mountain peanut
ชื่อวิทยาศาสตร์: Plukenetia volubilis L.
จัดว่าเป็นพืชวงศ์ยางพารา Euphobiaceae
ถั่วดาวอินคา
ถิ่นกำเนิดของดาวอินคา: ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบอยู่ในประเทศเปรู และถือว่าเป็นพืชเฉพาะในป่าอะเมซอน แต่ในไทยก็ยังสามารถพบได้ชนิดเดียวนั่นก็คือ Plukenetia corniculata Sm.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของดาวอินคา
ดาวอินคา จัดได้ว่าเป็นไม้เลื้อยที่มีอายุได้ 10-50ปี และส่วนของลำต้นนั้นจะสูงได้ประมาณ5เมตร โดยโครงสร้างจะเป็นไม้เลื้อยที่พันตามต้นอื่นๆ
ใบนั้นเป็นใบเดี่ยว ยาวประมาณ 10-15ซม.และมีความกว้างประมาณ 8-10ซม. ส่วนของก้านของใบจะยาวประมาณ 2-7ซม. ปลายใบมีรูปทรงเรียวแหลม เรียงสลับกัน ส่วนขอบใบเป็นรูปร่างคล้ายๆเลื่อย
ดอก จะเริ่มออกเมื่อดาวอินคามีอายุประมาณ 5เดือนและจะเริ่มติดเมล็ดหลังจากเริ่มปลูกได้8เดือน การออกของดอกนั้นจะออกมาเป็นลักษณะของช่อกระจะ โดยจะมีทั้ง2เพศ โดยถ้าเป็นดอกเพศผู้จะมีสีขาวและเรียงกันตลอดช่อเป็นกระจุก ส่วนดอกเพศเมียจะมีเพียง2ดอก และอยู่เฉพาะตรงโคนของช่อดอก

ผลจะมีลักษณะคล้ายๆดาว 4-7แฉก ส่วนสีจะเริ่มจากสีเขียว และสีจะเข้มขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นสีน้ำตาลดำเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-5ซม. ส่วนใหญ่จะปล่อยไว้ให้แห้งคาต้นก่อนค่อยเก็บเกี่ยว หลังจากนั้นจึงนำไปตากแดดก่อนเป็นเวลา 24ชม. จึงสามารถนำไปขายได้
ที่มา...https://vegetweb.com/ถั่วดาวอินคา